ระเบียบปฏิบัติสำหรับการจัดเก็บเอกสารนอกสถานประกอบการ

มาตรา ๑๓
ู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิต
หรือเก็บสินค้าเป็นประจำหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานประจำ เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะได้รับอนุญาตจากสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตร
บัญชีให้เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่นได้

การขออนุญาตและการอนุญาตตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดและในระหว่างรอการอนุญาตให้ผู้มี
หน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ในสถานที่ที่ยื่นขอนั้นไปพลางก่อนได้

[ดูประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เก็บรักษาบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้
ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น และการแจ้งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย พ.ศ. ๒๕๔๓]


ในกรณีที่จัดทำบัญชีด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมืออื่นใดในสถานที่อื่นใดในราชอาณาจักรที่มิใช่สถานที่ตามวรรคหนึ่ง แต่มีการเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์หรือเครื่องมือนั้นมายังสถานที่ตามวรรคหนึ่ง กรณีดังกล่าวนี้ให้ถือว่าได้มีการเก็บรักษาบัญชีไว้ ณ สถานที่
ตามวรรคหนึ่งแล้ว

มาตรา ๑๔

ู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันปิดบัญชี
หรือจนกว่าจะมีการส่งมอบบัญชีและเอกสารตามมาตรา ๑๗

เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบบัญชีของกิจการประเภทใดประเภทหนึ่ง ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดให้ผู้มี
หน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้เกินห้าปีแต่ต้องไม่เกินเจ็ดปีได้

มาตรา ๑๕

ถ้าบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย ให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแจ้งต่อสารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชี
ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่อธิบดีกำหนดภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ทราบหรือควรทราบถึงการสูญหายหรือเสียหายนั้น

[ดูประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง หลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาตและการอนุญาตให้เก็บรักษาบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่อื่น และการแจ้งบัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย พ.ศ. ๒๕๔๓]


มาตรา ๑๖
ในกรณีที่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีตรวจพบว่าบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีที่เป็นสาระสำคัญแก่การจัดทำ
บัญชีสูญหายหรือถูกทำลาย หรือปรากฏว่าบัญชีและเอกสารดังกล่าวมิได้เก็บไว้ในที่ปลอดภัย ให้สันนิษฐานว่าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีมีเจตนาทำให้้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือทำให้สูญหายหรือทำให้ไร้ประโยชน์ซึ่งบัญชีหรือเอกสารนั้น เว้นแต่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีจะพิสูจน์ให้เชื่อได้ว่าตนได้ใช้ความระมัดระวังตามสมควรแก่กรณีแล้ว เพื่อป้องกันมิให้บัญชีหรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีสูญหายหรือเสียหาย

มาตรา ๑๗

เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเลิกประกอบธุรกิจด้วยเหตุใดๆ โดยมิได้มีการชำระบัญชี ให้ส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีแก่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีภายในเก้าสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ และให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีเก็บ
รักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีดังกล่าวไว้ไม่น้อยกว่าห้าปี

เมื่อผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีร้องขอ ให้สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีมีอำนาจขยายเวลาการส่งมอบบัญชีและเอกสารตามวรรคหนึ่งได้
แต่ระยะเวลาที่ขยายเมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันเลิกประกอบธุรกิจ

ในกรณีที่ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไม่ครบถ้วนถูกต้อง สารวัตรใหญ่บัญชี
หรือสารวัตรบัญชีีมีอำนาจเรียกให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีส่งมอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ครบถ้วนถูกต้องภายในเวลา
ที่กำหนด

มาตรา ๑๘

งบการเงิน บัญชี และเอกสารที่สารวัตรใหญ่บัญชีหรือสารวัตรบัญชีได้รับและเก็บรักษาไว้ตามมาตรา ๑๑ หรือมาตรา ๑๗ ผู้มีส่วนได้เสีย
หรือบุคคลทั่วไปอาจขอตรวจดูหรือขอภาพถ่ายสำเนาได้โดยเสียค่าใช้จ่ายตามที่อธิบดีกำหนด

[ดูประกาศกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เรื่อง กำหนดค่าใช้จ่ายในการขอตรวจดู หรือขอภาพถ่ายสำเนางบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
(ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๔๙]


มาตรา ๓๑
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีผู้ใดไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๑๑ วรรคสาม มาตรา ๑๓ มาตรา ๑๔ มาตรา ๑๕ หรือ มาตรา ๑๗ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าพันบาท

:: หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่

เรื่อง : การเก็บและรักษารายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนด

อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 87/3 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่ง แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ. 2534 อธิบดีกรมสรรพากร กำหนดสถานที่เก็บและรักษารายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานที่อื่นนอกจากสถานประกอบการที่จัดทำ รายงานนั้น ดังนี้

ข้อ 1
ให้ผู้ประกอบการจดทะเบียนที่มีหน้าที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีและ ชำระภาษี และผู้มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงานตามบทบัญญัติในส่วนที่เกี่ยวกับการจัดทำรายงาน เก็บและรักษารายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลง รายงานไว้ ณ สถานประกอบการที่จัดทำรายงานนั้น หรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนดเป็นเวลา ไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือวันทำรายงาน แล้วแต่กรณี ตาม มาตรา 87/3 วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร

ข้อ 2
ในกรณีที่ผู้ประกอบการจดทะเบียน ซึ่งมีหน้าที่เก็บและรักษา รายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไว้ ณ สถานประกอบการที่จัดทำรายงานนั้น มีความประสงค์จะเก็บและรักษารายงาน ใบกำกับภาษี สำเนา ใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานของปีภาษีก่อนปีภาษีปัจจุบันไว้ ณ สถานประกอบการแห่งอื่นหรือสถานที่แห่งอื่น นอกจากสถานประกอบการที่จัดทำรายงานนั้น ให้ยื่น คำร้องเป็นหนังสือต่ออธิบดีกรมสรรพากรผ่านสรรพากรพื้นที่ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่ ที่สถานประกอบการที่มีหน้าที่ต้องจัดทำรายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานตั้งอยู่
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 116/2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป )
ในกรณีที่ผู้ประกอบการมีสถานประกอบการหลายแห่ง ให้สถานประกอบการที่ เป็นสำนักงานใหญ่เป็นผู้ยื่นคำร้องต่อผู้มีอำนาจตามวรรคหนึ่ง

คำร้องตามวรรคหนึ่งต้องมีรายการดังต่อไปนี้
(1) ประเภท ชนิด เดือน พ.ศ.ของรายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับ ภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงาน ที่ขออนุญาต
นำไปเก็บและรักษาไว้ ณ สถานที่อื่น
(2) สถานที่ที่ขออนุญาตนำเอกสารตาม (1) ไปเก็บและรักษาไว้แทนสถาน ประกอบการที่จัดทำรายงาน
(3) กำหนดระยะเวลาในการเก็บและรักษา
(4) เหตุผล และความจำเป็นในการขออนุญาต
(5) คำรับรองกรณีจะส่งมอบเอกสารตาม (1) ให้แก่เจ้าพนักงานประเมิน เพื่อทำการตรวจสอบภายในระยะเวลาที่เจ้าพนักงาน
ประเมินกำหนด

ข้อ 3
ให้สรรพากรพื้นที่เป็นผู้พิจารณาคำร้องตามข้อ 2 แล้วแจ้งผลการพิจารณาเป็นหนังสือให้ผู้ประกอบการทราบการอนุญาตหรือไม่อนุญาต พร้อมทั้งส่งสำเนาหนังสือแจ้งผลการพิจารณาให้สรรพากรภาคทราบด้วย และจัดทำทะเบียนคุมการอนุญาตหรือไม่อนุญาตแยกเป็นเขต หรืออำเภอตามที่ตั้งสถานประกอบการนั้น ๆ โดยระบุรายการดังนี้
(1) ลำดับที่
(2) ชื่อและที่อยู่ของผู้ประกอบการ
(3) ประเภท ชนิด เดือน พ.ศ. ของรายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี และเอกสารประกอบการลงรายงานที่ได้รับอนุญาต
ให้นำไปเก็บและรักษาไว้ ณ สถานที่อื่น
(4) สถานที่ที่ได้รับอนุญาตให้นำรายงาน ใบกำกับภาษี สำเนา ใบกำกับภาษี และเอกสารประกอบการลงรายงานไปเก็บและรักษา
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 116/2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป)

ข้อ 4
ผู้ประกอบการที่ได้ยื่นคำร้องตามข้อ 2 แล้ว จะนำรายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไปเก็บและรักษาไว้ ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาตได้ต่อเมื่อได้รับหนังสือแจ้งผลการพิจารณาอนุญาตจากสรรพากรพื้นที่"
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยคำสั่งกรมสรรพากรที่ ท.ป. 116/2545 ใช้บังคับ 11 ตุลาคม 2545 เป็นต้นไป)
ให้ผู้ประกอบการจัดทำทะเบียน และลงรายการทันที ทุกครั้งที่มีการนำรายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานไปเก็บและรักษา ไว้ ณ สถานที่ที่ได้รับอนุญาต โดยให้บันทึกรายการดังต่อไปนี้
(1) วัน เดือน ปี ที่นำรายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบกำกับภาษี และ เอกสารประกอบการลงรายงาน ออกจากสถานประกอบการ
ไปเก็บและรักษาไว้ยังสถานที่ ที่ได้รับอนุญาต
(2) ประเภท ชนิด เดือน พ.ศ. ของรายงาน ใบกำกับภาษี สำเนาใบ กำกับภาษี พร้อมทั้งเอกสารประกอบการลงรายงานที่นำไปเก็บ
และรักษาไว้ ณ สถานที่ ที่ได้รับอนุญาต
(3) ที่ตั้งของสถานที่ที่ได้รับอนุญาต
(4) วัน เดือน ปี ที่ได้รับอนุญาต ในกรณีที่ผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้เก็บเอกสารตามข้อ 1 ณ สถานที่อื่น นอกจากสถานที่
ที่จัดทำเอกสารดังกล่าวอยู่ก่อนคำสั่งนี้ ให้ผู้ประกอบการนั้นปฏิบัติตาม วรรคสองด้วย

ข้อ 5
ในกรณีที่มีปัญหาในการปฏิบัติตามคำสั่งนี้ ให้ผู้มีอำนาจในการพิจารณา ตามข้อ 2 เสนอความเห็นต่ออธิบดีเพื่อพิจารณาสั่งการต่อไป

ข้อ 6
คำสั่งนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ที่ลงในคำสั่งนี้เป็นต้นไป และระเบียบ คำสั่ง หนังสือตอบข้อหารือ หรือทางปฏิบัติใดที่ขัดหรือแย้งกับคำสั่งนี้ ให้ใช้คำสั่งนี้แทน

:: หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่

มาตรา 9
ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา 113 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469

"มาตรา 113 ทวิ ให้ผู้นำของเข้า ผู้ส่งของออก ตัวแทนของเรือ ตัวแทนของบุคคลดังกล่าวหรือบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องตามที่อธิบดีกำหนด มีหน้าที่เก็บและรักษาบัญชี เอกสาร หลักฐานและข้อมูล ไม่ว่าในสื่อรูปแบบใด ๆ ที่บุคคลดังกล่าวใช้อยู่ซึ่งเกี่ยวข้องกับของใด ๆ ที่กำลังผ่านหรือได้ผ่านศุลกากรไว้ ณ สถานที่ประกอบการหรือสถานที่อื่นที่อธิบดีกำหนด เป็นเวลาไม่น้อยกว่าห้าปีนับแต่วันที่นำของเข้าหรือส่งของออก

ในกรณีที่บุคคลหรือนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งเลิกประกอบกิจการ ให้บุคคลหรือนิติบุคคลหรือผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคลนั้น เก็บและรักษาบัญชี เอกสาร หลักฐานและข้อมูลดังกล่าว ณ สถานที่อธิบดีกำหนด ต่อไปอีกสองปีนับแต่วันเลิกประกอบกิจการ

ให้อธิบดีมีอำนาจประกาศกำหนดชนิดของเอกสารที่บุคคลตามวรรคหนึ่งมีหน้าที่เก็บและรักษา รวมทั้งหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการเก็บและรักษาบัญชี เอกสาร หลักฐานและข้อมูลดังกล่าว

ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามวรรคหนึ่งหรือวรรคสอง หรือฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขตามวรรคสาม ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ"

:: หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่

เรื่อง : การจัดเก็บและรักษาบัญชี เอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าหรือส่งออก

ตามที่ได้มีการแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพการณ์ปัจจุบัน อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 113 ทวิ แห่ง พระราชบัญญัติศุลกากร พุทธศักราช 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 9 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 17)
พ.ศ. 2543 อธิบดีกรมศุลกากรจึงได้ออกประกาศกรมศุลกากร ดังนี้

ข้อ 1.
ประกาศกรมศุลกากรฉบับนี้ เป็นประกาศว่าด้วยเรื่อง “การจัดเก็บและรักษาบัญชี เอกสาร หลักฐาน หรือข้อมูลไม่ว่าในสื่อรูปแบบใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำของเข้ามาในและ/หรือการส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร”

ข้อ 2.
ตามประกาศกรมศุลกากรฉบับนี้ คำว่า “เอกสาร” ให้หมายรวมถึงบรรดาเอกสารทั้งหลาย เช่น กระดาษ หนังสือ หรือทะเบียน รวมตลอดถึง แผ่นดิสก์ แผ่นซีดี ฟิล์ม เทป เครื่องบันทึกเสียงหรือภาพ สื่อ อุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้เก็บรักษาข้อมูล หรือสื่อทางอิเล็กทรอนิกส์ หรือบรรดาสื่อทุกชนิดที่สามารถใช้แปลความหมายได้ที่เกี่ยวข้องกับของใดๆ ที่กำลังผ่าน หรือได้ผ่านศุลกากรแล้ว

ข้อ 3.
ประกาศกรมศุลกากรฉบับนี้ ให้ใช้บังคับแก่บุคคลธรรมดา หรือนิติบุคคล ดังนี้
3.1 ผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร
3.2 ผู้ส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร
3.3 ตัวแทนของเรือผู้รับบรรทุกของตามข้อ 3.1 หรือ 3.2
3.4 ตัวแทนของบุคคลตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.3
3.5 บุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามข้อ 3.1 ถึงข้อ 3.4

ข้อ 4.
ให้บุคคลตามข้อ 3. ต้องจัดเก็บรักษาเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวกับการนำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรตามลักษณะการประกอบการ ดังนี้
4.1 กรณีผู้นำของเข้ามาในและ/หรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร ต้องจัดเก็บเอกสาร ดังนี้
(ดูรายละเอียดเพิ่มจากเว็บไซต์ของกรมศุลกากร)
4.2 กรณีตัวแทนของเรือ ดังนี้ (ดูรายละเอียดเพิ่มจากเว็บไซต์ของกรมศุลกากร)
4.3 กรณีตัวแทนของบุคคลตามข้อ 3.1 ถึง ข้อ 3.3
ต้องจัดเก็บรักษาเอกสารเช่นเดียวกับตัวการคือผู้นำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักร หรือตัวแทนเรือ หากว่ามีหน้าที่
ต้องทำการแทนบุคคลดังกล่าวในเรื่องที่ได้รับมอบหมาย
4.4 กรณีบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับบุคคลตามข้อ 3.1 ถึง ข้อ 3.4
ต้องจัดเก็บรักษาเอกสารทุกชนิดที่อยู่ในความรับผิดชอบอันเกี่ยวเนื่องกับการนำของเข้ามาในและ/หรือส่งของออก
ไปนอกราชอาณาจักร

ข้อ 5.
ให้บุคคลตามข้อ 3. จัดเก็บเอกสารตามที่กำหนดไว้ ณ สถานประกอบการของตนหรือสถานที่อื่นตามที่ได้รับอนุมัติจากอธิบดี

ข้อ 6.
ให้มีการจัดเก็บเอกสารตามที่กำหนด โดยแยกไว้เป็นสัดส่วน มิให้นำมาปะปนกันเพื่อเจ้าหน้าที่สามารถตรวจสอบได้โดยง่าย

ข้อ 7.
ให้จัดเก็บเอกสารตามที่กำหนดในข้อ 4 เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับแต่วันที่นำของเข้ามาในหรือส่งของออกไปนอกราชอาณาจักรแล้วแต่กรณี แต่หากมีการเลิกประกอบกิจการให้บุคคลตามข้อ 3. หรือผู้ชำระบัญชีของนิติบุคคลนั้น จัดเก็บเอกสารดังกล่าวไว้ ณ สถานที่ประกอบการของบุคคลตามข้อ 3 หรือสำนักงานของผู้ชำระบัญชีดังกล่าวแล้วแต่กรณี ต่อไปอีก 2 ปี นับแต่วันเลิกประกอบกิจการ

:: หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม คลิกที่นี่
 

บริษัท ทรัพย์ศรีไทย จำกัด (มหาชน)

ที่อยู่คลังสินค้าและเอกสาร :

115,115/7-10 หมู่ที่ 6,ซอยสุขสวัสดิ์ 76 ตำบลบางจาก
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130

ที่อยู่คลังสินค้าและท่าเทียบเรือ :

71,71/1-9 หมู่ที่ 1 ,ซอยสุขสัสดิ์ 49 ตำบลบางจาก
อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ 10130

ที่อยู่สำนักงานใหญ่ :

เลขที่ 206 อาคารพลาซ่า ชั้น 4 ซอยพัฒนาการ 20 แขวงสวนหลวง
เขตสวนหลวง กรุงเทพมหานคร 10250

ข้อมูลติดต่อ : (บริการจัดเก็บสินค้าและรับฝากเอกสาร)

อีเมล์ : mkt@subsrithai.co.th
โทร :02-463-0127,02-464-1502-5
แฟกซ์ :02-517-5190

ข้อมูลติดต่อ : (บริการคลังสินค้าและท่าเทียบเรือ)

อีเมล์ : wh49@subsrithai.co.th
โทร :02-463-4280-5,02-462-6325
แฟกซ์ : 02-463-4287,02-818-7847

ข้อมูลติดต่อ : (สำหรับผู้ถือหุ้น)

อีเมล์ : sst@subsrithai.co.th
โทร : 0-2318-5514-5

ช่องทางติดตาม :